วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการแก้มลิง



โครงการ '' แก้มลิง '
ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน 2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป 3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล 2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ 3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง 4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว
(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ 1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ 2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ 3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง
โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" 2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" 3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกันดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส

ให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ”ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มีพันธกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ โดยได้ดำเนินงานทั้งด้านการยกระดับนวัตกรรม การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรม การสร้างความใฝ่รู้ด้านนวัตกรรม ตลอดจนการสร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศ เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอเสนอโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริก็คือการใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1 – 4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การ “แกล้งดิน” ตามแนวพระราชดำริสามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่งจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาเห็นว่า ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านนวัตกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทย ซึ่งจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับโครงการนี้ ดังนี้
วันที่ 24 สิงหาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นดินมีคุณภาพต่ำ สมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป

วันที่ 16 กันยายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ “ โครงการแกล้งดิน” โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้

วันที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ และทรงมีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน และพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ “คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ ต่อไป เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงแนวพระราชดำริในด้านการพัฒนา และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว

ความสำคัญของนวัตกรรม

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (อ้างถึงใน สุมิตา บุญวาส 2546 : 78) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่น
ปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น

สำนักงานการอุดมศึกษา (2546 : 2) นวัตกรรม มี 6 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล
การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียน
โปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web - based Instruction) หรือ e- learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อน
เรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์
จัดเก็บข้อมูล

อำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 ลักษณะ

1. นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม
2. นวัตกรรมที่เป็นนามธรรม

อัจฉรา ส้มเขียวหวาน (2549) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เพิ่งค้นพบขึ้น
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ผสมกับสิ่งเก่า คือการนำเอาสิ่งเก่าที่ไม่ได้รับความนิยมมาทำ
การปรับปรุงให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สุมิตา บุญวาส (2546 : 78) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ

อำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ

อัจฉรา ส้มเขียวหวาน (2006) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็น

แนวปฏิบัติ

2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

นวัตกรรม

นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย