วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสำคัญของนวัตกรรม

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (อ้างถึงใน สุมิตา บุญวาส 2546 : 78) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่น
ปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น

สำนักงานการอุดมศึกษา (2546 : 2) นวัตกรรม มี 6 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล
การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียน
โปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web - based Instruction) หรือ e- learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อน
เรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์
จัดเก็บข้อมูล

อำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 ลักษณะ

1. นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม
2. นวัตกรรมที่เป็นนามธรรม

อัจฉรา ส้มเขียวหวาน (2549) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เพิ่งค้นพบขึ้น
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ผสมกับสิ่งเก่า คือการนำเอาสิ่งเก่าที่ไม่ได้รับความนิยมมาทำ
การปรับปรุงให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สุมิตา บุญวาส (2546 : 78) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ

อำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ

อัจฉรา ส้มเขียวหวาน (2006) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้

1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็น

แนวปฏิบัติ

2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น